การ ต่อ พ.ร.บ รถยนต์ ถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกปีเมื่อครบกำหนด เพราะจะเป็นสิ่งช่วยคุ้มครองเมื่อต้องประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถ ซึ่งที่ผ่านมาการจะต่อ พ.ร.บ ต้องไปติดต่อที่ขนส่ง แต่ปัจจุบันถือว่ามีความสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถต่อ พ.ร.บ แบบออนไลน์ ได้ง่าย ๆ ไม่เกิน 15 นาที ผ่านทางมือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต โดยขั้นตอนต่างทำได้ดังนี้
ขั้นตอนการ ต่อ พ.ร.บ รถยนต์ แบบออนไลน์
- เข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf หากเคยลงทะเบียนมาก่อนแล้วให้คลิกเข้าสู่ระบบ หากลงทะเบียนใหม่ให้กรอกเลขบัตรประชาชน แล้วตั้งรหัสผ่าน แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนจากนั้นก็ใช้เลขประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ
- หลังจากเข้าสู่ระบบแล้วให้เลือกหัวข้อ บริการ – ชำระภาษีรถประจำปี – ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
- เราจะเข้าสู่หน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ โดยต้องกรอกข้อมูล ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกจนครบให้กดบันทึก แล้วจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏอยู่ล่าง คลิกช่องรูปสี่เหลี่ยมซ้ายมือ แล้วคลิก ชำระภาษี
- ต่อมาจะมี 3 ช่องขึ้นมาคือ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ และรายการที่ต้องชำระให้กรอกข้อมูลลงไปให้ครบถ้วน หากเป็นรถจักรยานยนต์ให้ดูที่หัวข้อ ข้อมูล พ.ร.บ คลิกที่ช่อง ไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) แล้วให้คลิกต้องการซื้อ พ.ร.บ ใหม่
- คลิกเลือกวิธีชำระเงิน ซึ่งสามารถเลือกได้ตามความต้องการ หลังจากชำระเงินเสร็จจะได้รับใบเสร็จ แล้วให้รอรับ พ.ร.บ ที่อยู่ที่กรอกไว้ได้เลย
ค่าธรรมเนียมการ ต่อ พ.ร.บ รถยนต์
ประเภท รถยนต์โดยสาร
- รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
- รถยนต์นั่งเกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
- รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง และเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
- รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
- รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท
ประเภท รถกระบะ – รถบรรทุก
- รถบรรทุก ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 900 บาท
- รถบรรทุก ที่มีน้ำหนัก เกิน 3 ตัน แต่ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
- รถบรรทุก ที่มีน้ำหนัก เกิน 6 ตัน แต่ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
- รถยนต์ประเภทอื่น ๆ
- รถหัวรถลากจูง 2,370 บาท
- รถพ่วง 600 บาท
- รถที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท
ทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนการ ต่อ พ.ร.บ รถยนต์ แบบออนไลน์ที่ทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขึ้นตอน ซึ่งก็สามารถทำให้เราใช้รถใช้ถนนอย่างสบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายของกรมขนส่งทางบก และการคุ้มครองหากประสบอุบัติเหตุ ดังนั้นหากใครใกล้ครบกำหนดต่อ พ.ร.บ ก็อย่าได้ลืม