มะเร็งช่องปาก อีกหนึ่งโรคร้ายที่มีตัวเลขในการคร่าชีวิตเป็นจำนวนมาก ที่หลายคนมองข้าม มะเร็งช่องปาก มีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสำหรับคนบางกลุ่ม ซึ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นเปิดจำนวนมากในผู้ชาย ที่มีอัตราการเกิด มะเร็งช่องปาก มากกว่าผู้หญิง โดยที่บุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสจะพบ มะเร็งช่องปาก เป็นจำนวนมาก
มะเร็งในช่องปากคือ
มะเร็งช่องปาก เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยอาการเบื้องต้นจะเกิดที่ ริมฝีปากล่าง ซึ่งอวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล
ซึ่งจากการศึกษาเพิ่มเติมได้บอกเอาไว้ว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิด มะเร็งช่องปาก หลัก ๆ จะถูกจำแนกได้ดังนี้ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนปกติถึงประมาณ 15 เท่า รวมถึงการกินหรือเคี้ยวหมากพลู ซึ่งมีสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้
มะเร็งในช่องปากมีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง
นอกจากนั้น มะเร็งในช่องปาก ยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ถึง 3 ทาง โดยความเสี่ยงจะมี การแพร่ไปยังอวัยวะข้างเคียง การแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ และการแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ซึ่งจะสามารถพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือในส่วนของเซลล์มะเร็ง ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ
การป้องกัน
ปัจจุบัน ก็ยังไม่มีคำตอบที่ออกมาแน่ชัดเกี่ยวกับการป้องกันของ มะเร็งช่องปาก อย่างแน่ชัด แต่ก็มีคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาว่า การลดโอกาสการเกิดของมะเร็งช่องปาก สามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีการดังนี้
- ลดความเสี่ยงในการทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น ลดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคี้ยวหมากพลู การสูบยาเส้น
- รับประทานอาหาร ผักและผลไม้หลากหลายชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ
- หมั่นตรวจสุขภาพของช่องปากและฟันทุก 6 เดือน หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น ฟันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ให้รีบพบทันตแพทย์ทันที
มะเร็งช่องปากถือเป็นโรคที่มีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยในปัจจุบัน มะเร็งช่องปาก ถือเป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสเจอได้ 1 ใน 10 ของโรคมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย โดยเซลล์ส่วนใหญ่ของมะเร็งช่องปากเป็นชนิด Squamous Cell Carcinoma ที่มีความรุนแรงสูง และก่อให้เกิดอัตราการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50