อาหารทารก ในช่วง 12 เดือนแรกควรให้ทานแบบไหน

อาหารทารก ในช่วงขวบปีแรกเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจเป็นอย่างมากเพราะถือว่าเป็นช่วงปูพื้นฐานให้ร่างกาย และสมองมีการพัฒนาต่อเนื่อง โดยแต่ละช่วงก็ควรให้อาหารที่แตกต่างกันออกไปโดยแยกได้ดังต่อไปนี้

อาหารทารก หลังคลอดจนถึง 4 เดือน

ทารกหลังคลอดจนถึง 4 เดือน หรือประมาณ 1,000 วัน อาหารที่ควรทานคือนมแม่เท่านั้น เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่ดีต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย และสมอง โดยเฉพาะ โปรตีน ไขมันกลุ่ม ดี เอช เอ และแร่ธาตุ พวกเหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม เป็นต้น หากเป็นไปได้ควรให้ลูกกินนมต่อเนื่องไปจนถึง 6 เดือน พร้อมกับทานอาหารอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัย

อาหารทารก อายุ 4-6 เดือน

ในช่วงนี้ควรเริ่มให้ทานกล้วยครูดประมาณ ไม่เกิน 1 ลูก เพื่อให้กระเพาะได้มีการปรับตัวจนกระทั่งอายุได้ 6 เดือนจึงให้ทานข้าวโดยกระเพาะอาหารจะสามารถรับปริมาณได้ 4-5 ช้อนโต๊ะ นอกจากนี้ควรให้ทานเนื้อสัตว์อย่าง ตับ ไข่แดง เนื้อแดง ผักใบเขียว ควบคู่ไปด้วยเพราะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามิน เอ วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ควรเพิ่มอาหารที่มีดี เอช เอ สูง โดยการทานควรจะบดให้ละเอียด

อาหารทารก อายุ 7 เดือน

ในช่วงนี้กระเพาะยังรับปริมาณได้ 6 ช้อนโต๊ะ แต่สามารถทานไข่ขาวได้แล้วดังนั้นควรเริ่มให้ทานไข่ขาวครึ่งฟอง สลับกับทานเนื้อสัตว์ และเนื้อปลาทะเลหากลูกไม่แพ้อาหารควรให้ทานโปรตีนเช่นนมวัวที่อุดมไปด้วย ไอโอดีนและ ดี เอช เอ

อาหารทารก อายุ 8-9 เดือน

กระเพาะอาหารของเด็กสามารถรับปริมาณข้าวได้ประมาณ 6-7 ช้อนโต๊ะ และสามารถทานอาหารบดหยาบได้แล้ว การทานควรแบ่งเป็น 2 มื้อ จัดให้เป็นข้าว 3 ส่วน เนื้อสัตว์หรือไข่ 1 ส่วน และผลไม้ 1 ส่วน

อาหารทารก อายุ 10-12 เดือน

ทานเหมือนเดิมแต่เพิ่มปริมาณมากขึ้น กระเพาะสามารถรับข้าวได้ 8-10 ช้อนโต๊ะ ให้แบ่งให้อาหารเป็น 3 มื้อ และให้ลูกหัดทานข้าวเองโดยใช้ช้อน หรือมือ

สิ่งที่ควรทำในการให้อาหารลูก

  • เพิ่มอาหารใหม่วันละอย่าง
  • แยกอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้ลูกรับรู้รสของอาหารที่แตกต่าง

สิ่งที่ไม่ควรทำในการให้ อาหารทารก

  • หากทานอาหารชนิดไหนแล้วไม่สบาย ไม่ควรให้ทานอีก
  • ไม่ควรให้ทานกล้วยครูดอย่างเดียวต่อเนื่อง โดยไม่ให้อาหารอื่น ลูกจะติดรสหวาน และขาดสารอาหารได้
  • หากลูกใช้ลิ้นดุนอาหารออกเป็นเพราะว่ายังกลืนลงคอไม่เป็น ไม่ควรหยุดป้อนอาหารควรให้ลูกฝึกทานต่อไป

การให้ อาหารทารก สิ่งสำคัญควรหมั่นสังเกตว่าลูกไม่ชอบทานอะไร ให้ปรับเปลี่ยนอาหารเป็นแบบที่ลูกชอบ หรือปรับรูปแบบเมนู (แต่มีสารอาหารใกล้เคียงกัน) โดยเฉพาะผัก ไม่ควรบังคับฝืนใจ แต่ให้ค่อย ๆ ฝึกให้ทานจะดีที่สุด