ถมดินสร้างบ้าน สิ่งที่ควรคำนึง และการเลือกใช้ดินแต่ละประเภท

สำหรับผู้ที่มีที่ดินแล้วอยากสร้างบ้านเองแต่พื้นที่จำเป็นต้อง ถมดินสร้างบ้าน แต่ไม่รู้ว่าควรใช้ดินแบบไหน และควรต้องคำนึงถึงอะไรบ้างเรามีคำตอบมาแนะนำกันดังนี้

สิ่งที่ควรคำนึงก่อน ถมดินสร้างบ้าน

ลักษณะพื้นที่ ความสูงของดินที่จะถม – ต้องศึกษาว่าบริเวณนั้นเคยน้ำท่วมหรือไม่ หากท่วมถึงระดับไหนเมื่อเทียบกับพื้นที่ของตน ใช้เวลาระบายน้ำนานแค่ไหน เพื่อที่จะได้คาดได้ถูกว่าจะต้องถมดินสูงขนาดไหน หากมีปัญหาน้ำท่วมนอกจากการถมที่สูงขึ้นแล้วยังจำเป็นต้องอัดแน่น ให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ดินอ่อนตัวง่าย การถมดินโดยปกติจะถมสูงกว่าถนนประมาณ 50-80 ซ.ม. แต่บางพื้นที่อาจถมดินให้สูงกว่า 1 เมตร เผื่อการยุบตัว

ถมดินสร้างบ้าน ต้องทิ้งไว้นานแค่ไหน

การถมดินเพื่อสร้างบ้านหากไม่เร่งรีบหรือจำเป็นจริง ๆ ยังไม่ควรสร้างบ้านทันทีควรทิ้งเวลาให้ดินได้เซตตัวก่อน อีกทั้งยิ่งถมสูงก็ยิ่งทรุดตัวได้ง่าย การทิ้งช่วงเวลาก็ประมาณ 6-12 เดือน แต่หากอยากสร้างจริง ๆ สามารถทำได้โดยการใช้รถบดอัดดินช่วย หรือจะใช้ทั้งบดอัด และรอเวลาก็จะดียิ่งขึ้น

ดินประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ ถมดินสร้างบ้าน

ดินที่จะนำมาถมสร้างบ้าน ไม่ควรใช้ดินที่มีการผสมเศษอิฐ เศษหิน เพราะอาจจะมีปัญหาตอนตอกเสาเข็มได้ ควรเลือกใช้ดินธรรมชาติ โดยมีดังนี้

ดินดาน หรือซีแล็ค – เป็นดินที่มีความแห้งสูง เมื่อถมแล้วสามารถปรับหน้าดินได้ทันที บดอัดได้แน่นเหมาะสำหรับใช้ทำถนน หรือพื้นที่ที่อยู่บริเวณริมน้ำ

ดินทราย – หากใช้ดินชนิดนี้ต้องอัดบดให้แน่นมากกว่าดินชนิดอื่นเพราะมีส่วนผสมของทรายค่อนข้างมาก จึงกัดกร่อนได้ง่าย ไม่อุ้มน้ำ หากอัดไม่แน่นดินอาจจะทรุดตัว และไหลออกไปด้านข้าง ส่วนใหญ่ที่เลือกใช้ดินชนิดนี้ก็คือมีราคาถูกมักจะนิยมใช้ในโครงการจัดสรร

ดินลูกรัง – เป็นดินที่แข็ง มักจะมีสีน้ำตาลหรือแดง เป็นดินที่บดอัดแน่นได้ดีจึงเหมาะใช้ทำถนนคอนกรีต หากมาถมสร้างบ้านและต้องการปลูกต้นไม้อาจจะไม่เหมาะ เพราะแห้งมากไป และไม่มีสารอาหาร

ดินเหนียว – เป็นดินที่ละเอียดแน่น อุ้มน้ำได้ดี หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นดินที่เหมาะใช้ถามที่สร้างบ้าน

หน้าดิน – เป็นพื้นผิวดินด้านบนมีสีดำ หากใครต้องการสร้างบ้านแล้วปลูกต้นไม้ดินชนิดนี้จึงเหมาะสมที่สุด เพราะมีแร่ธาตุสารอาหารที่จำเป็นต่อพืช ทำให้เป็นดินที่มีราคาสูง

ดังนั้นคงพอจะรู้กันแล้วว่าการ ถมดินสร้างบ้าน ควรคำนึงถึงอะไร และควรเลือกใช้ดินประเภทไหน แต่ขอแนะนำว่าหากตัดสินใจไม่ได้ หรือไม่รู้จริง ๆ ควรปรึกษาช่าง วิศวกรที่ไว้ใจได้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลังจากเข้าอยู่อาศัยก็จะดีที่สุด