ลูกท้องอืด รับมืออย่างไร

สำหรับปัญหา ท้องอืด ในเด็กนั้น ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่มักจะเจอกันบ่อย โดยที่จะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว จนนอนไม่ได้ ถือเป็นเรื่องปกติ โดยที่มักจะไม่เกิดอันตรายใด ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ควรมีวิธีการรับมือปัญหา ลูกท้องอืด เพื่อที่จะสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นมาได้ เพื่อคลายความอืดท้องของลูกน้อยให้ลดลงได้

สาเหตุที่ทำให้ลูกท้องอืด

สำหรับสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กมีอาการท้องอืด อึดอัด ที่จะส่งผลโดยตรงที่จะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายท้อง โดยที่มักจะเกิดมาจากการที่มีการสะสมแก๊สภายในกระเพาะที่เยอะเกินไป ซึ่งอาจจะมีผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ดื่มนมช้าเกินไป : ให้ลองสังเกตลักษณะการกิน โดยให้ดูที่จุกขวดนม หรือหัวนมของมารดา เช่นหัวนมบอด อาจทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยหรือไหลช้า ส่งผลให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นในระหว่างดูดนม
  • ดื่มนมเร็วเกินไป : จะมีข้อสังเกตที่คล้ายกัน โดยปัญหาในการดื่มนมเร็วของเด็กนั้น ให้ดูว่าหากน้ำนมจากเต้าของมารดาหรือจุกขวดนมไหลออกมามากเกินไป ลูกน้อยจะต้องกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารได้มากเช่นกัน
  • ดื่มนมที่มีฟองกาศ : สิ่งที่มักจะเจอบ่อย ๆ โดยที่พ่อแม่หลายคนมักมองข้าม ซึ่งสำหรับสำหรับทารกที่ดื่มนมผง ในระหว่างขั้นตอนผสมนมผงกับน้ำอาจมีฟองอากาศเกิดขึ้น ทารกอาจท้องอืดได้หากกลืนฟองอากาศมากเกินไป ดังนั้น หลังผสมนมเสร็จแล้วควรทิ้งไว้สัก 2–3 นาที เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวก่อนให้ลูกน้อยดื่ม

วิธีบรรเทาอาการเบื้องต้นของปัญหาท้องอืดของลูกน้อย

การบรรเทาอาการเบื้องต้น จะมีมีผลเป็นอาอย่างมาก โดยสิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือ กระตุ้นให้เรอออกมาระหว่างป้อนนมและหลังป้อนนมเพื่อระบายแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • วางทารกในท่านอนหงายแล้วนวดบริเวณหน้าท้องเบา ๆ เริ่มจากด้านขวาไปยังด้านซ้าย
  • วางทารกในท่านอนหงาย จากนั้นจับขาทั้ง 2 ข้างขยับขึ้นลงสลับกันคล้ายปั่นจักรยาน
  • อุ้มทารกขึ้น ให้คางพักอยู่บริเวณไหล่ของแม่ แล้วใช้มือตบหลังทารกเบา ๆ
  • ให้ทารกนั่งซ้อนบนตัก โน้มตัวทารกไปด้านหน้าเล็กน้อยโดยใช้มือโอบบริเวณคางเพื่อประคองตัวไว้ จากนั้นใช้มือตบหลังของทารกเบา ๆ
  • วางทารกในท่านอนคว่ำบนตัก ให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย แล้วใช้มือตบหลังของทารกเบา ๆ

ป้องกันอาการท้องอืดอย่างไร

วิธีป้องกันพื้นฐานของอาการท้องอืดในเด็กนั้น สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสทำให้เกิดแก๊สจำนวนมากภายในกระเพาะอาหาร และพยายามไม่ให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปภายในท้อง โดยวิธีป้องกันก็มีดังนี้

  • ป้อนนมให้ทารกในปริมาณที่พอเหมาะ
  • จัดท่าทางของทารกให้เหมาะสมขณะป้อนนม โดยยกศีรษะให้อยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย
  • ขณะป้อนขม ควรยกขวดนมขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันอากาศไหลผ่านช่องว่างบริเวณจุกนม รวมไปถึงการปรับขนาดรูบนจุกนม เพื่อไม่ให้ใหญ่ไป หรือเล็กไป ก็จะช่วยให้อากาศไหลเข้าน้อยลงได้
  • ทารกที่หย่านมแม่แล้ว พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะมาก เช่น รำข้าว ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่วต่าง ๆ และอาหารที่ทำมาจากนม เป็นต้น