รู้จักประเภทชาเขียวญี่ปุ่น ความแตกต่างที่มีเอกลักษณ์

ชาญี่ปุ่นเป็นที่เลื่องชื่อ ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติเข้มข้น ที่คุ้นเคยมากกันก็คงเป็น “ชาเขียว” แต่ว่าชาญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ ชาเขียวชนิดเดียวด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับชาญี่ปุ่นกัน

ประเภทของชาเขียว 

ชาวญี่ปุ่นเรียกชาเขียวว่า “เรียวคุฉะ” (Ryokucha) ชาเขียวที่ทุกคนรู้จักกันดี เป็นชาที่ปลูกทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น สามารถแบ่งชนิดแยกย่อยได้ตามคุณภาพของใบชา ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยว และกรรมวิธีการนำเอาใบชาอบ เช่น 

เกียวคุโระ (Ryokucha): ใบชาที่มีคุณภาพดีที่สุด เริ่มเก็บตั้งแต่รอบแรกของฤดูเก็บเกี่ยว ด้วยการปลูกที่ใบชาไม่ได้รับแสงอาทิตย์ ใบชาทุกใบที่ได้จึงเป็นยอดอ่อน ชาที่ชงมีรสชาติไปทางหวาน และมีคาเฟอีนสูงกว่าใบชาชนิดอื่น 

เซนฉะ (Sencha): เป็นชาเขียวเกรดรองลงมา เก็บรอบแรกในฤดูเก็บเกี่ยวเหมือนกัน ชาที่ชงจะมีสีเขียวเหลืองไปจนถึงสีเขียว-น้ำตาลเข้ม มีรสขมฝาด คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันในชีวิตประจำวันมากที่สุด 

บันฉะ (Bancha): เป็นใบชาต้นเดียวกับที่ปลูกเซนฉะ โดยจะเก็บในช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง มีคุณภาพน้อยที่สุดในหมู่ใบชาด้วยกัน เป็นใบชาแก่ที่เหลือจากการเก็บในรอบก่อนๆ มีรสอ่อน ไม่เข้มข้น  

โคนะฉะ (Konacha): ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิตเกียวคุโระหรือเซนฉะ เป็นชารสเข้มที่นิยมเสิร์ฟตามร้านอาหารราคาย่อมเยาทั่วไป 

โฮจิฉะ (Hojicha)เป็นการนำใบชาบันฉะ ไปคั่วด้วยความร้อนสูงจนใบชากลายเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม รสชาติจะออกหวานกว่าชาปกติ นิยมดื่มแบบเย็นๆ เพื่อคลายร้อน  

มัทฉะ (Match): เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนจะใช้ใบชาชั้นดีอย่างเกียวคุโระเพื่อใช้ในพิธีชงชา แต่เมื่อชาเขียวได้รับความนิยมจึงใช้เซนฉะแทน  

โคฉะ(Kocha) หรือ ชาแดง: เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่ได้ผ่านความร้อนเลย จนเกิดเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม เป็นชาประเภทเดียวกับชาที่นิยมเสิร์ฟในร้านอาหารตะวันตกอย่าง English Breakfast Tea 

เกนไมฉะ (Genmaicha): ชาเขียวที่ผสมกับข้าวคั่วที่ยังไม่ถูกขัดสี ทำให้ชาที่ชงออกมามีสีเหลืองและรสชาติมีเอกลักษณ์  

ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นกันมานาน มีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแยกตามเกรดของใบชาที่นำมาชง และกระบวนการผลิตชา นอกจากนี้ยังมีชาที่ไม่ได้ทำจากใบชาอีกด้วย เพื่อนคนไหนที่ชอบดื่มชาเขียวคราวนี้ก็จะเข้าใจชาแต่ละประเภทกันแล้ว และอย่าลืมดื่มในชาในปริมาณที่พอเหมาะนะคะ